




ความหมาย ความเป็นมา เป้าหมายของอาเซียน
การศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการพัฒนาของอาเซียน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของอาเซียน เสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน และสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของประชาคมอาเซียนร่วมกัน และมีความเข้าใจร่วมกันในความเจริญรุ่งเรืองทางประวตัิศาสตร์ของอาเซียน รวมถึงภาษาวัฒนธรรมและค่านิยมร่วมกนัของอาเซียน
นโยบายและแนวทางการบริหารการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการได้มีการกำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการศึกษาตามปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษาของประเทศไทย ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2554: 18-22)
1.การเผยแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อม ของครูคณาจารย์และบุคากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้ก้าวสู่ประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
2. การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษาและประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศทักษะ และความชำนาญที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม รวมทั้งการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน
3. การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนของนักศึกษาและครู อาจารย์ในอาเซียน รวมทั้งให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพฒั นาระบบการศึกษาทางไกล ซ่ึงช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูน ความร่วมมือระหว่างสถาบนัการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน
4. การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีทางการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคญั ต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน
5. การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
คุณลักษณะเด็กไทยสู่ประชาคมอาเซียน