top of page

+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +

    การก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน เพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคนี้มี จุดกำเนิดอาเซียน จากปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ.1967 (พ.ศ. 2510) เริ่มแรกมีประเทศที่ลงนามก่อตั้งจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ต่อมามีประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมในสมาคมอาเซียนเพิ่มอีก 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศบูรไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 

     ในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 7-8 ตุลาคม พ.ศ.2546 ที่บาหลี ผู้นำอาเซียนได้ตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียนเพิ่มเติม โดยได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ การให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020)

การศึกษามีบทบาทสำคัญหรือเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสู่ประชาคมอาเซียนให้ปรากฏเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนในปฏิญญาว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียนได้เน้นย้ำความสำคัญของการศึกษาว่าเป็นกลไกสำคัญในการบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 ดังนี้

     1) การกำหนดให้อาเซียนมีวิสัยทัศน์สู่ภายนอก มีสันติสุขและมีการเชื่อมโยงเข้าด้วยกันในการเป็นหุ้นส่วนในบรรยากาศของประชาธิปไตยและมีการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน

    2) การพัฒนาที่มีพลวัต และการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดในสังคมที่เอื้ออาทรที่ระลึกถึงสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นทางประวัติศาสตร์ตระหนักถึงความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกันและเชื่อมโยงกันในอัตลักษณ์ของภูมิภาค

จากความสำคัญของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งการศึกษามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น การเตรียมครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพร้อมการเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 จึงมีความจำเป็นและถือเป็นภาระเร่งด่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งทำหน้าที่ผลิตบุคลากรด้านการศึกษาเห็นความสำคัญดังกล่าวและพร้อมที่จะใช้ระบบการศึกษาทางไกลในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

    สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ในฐานะเป็นผู้จัดการเรียนการสอนด้านการศึกษา ด้วยระบบทางไกลครอบคลุมแขนงย่อยๆ ได้แก่ หลักสูตรและการสอน บริหารการศึกษา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา จิตวิทยาและแนะแนวการศึกษา และการศึกษานอกระบบ จำเป็นต้องศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาในอาเซียน เพื่อเป็นประโยชน์ในการเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาและผู้ที่สนใจ นำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาศาสตร์ ของสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

 

 

 

 

ความเป็นมาของศูนย์อาเซียนศึกษา มสธ.

+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +

     พัฒนาและส่งเสริมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการศึกษาของอาเซียนและด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศมุ่งมั่นกระจายองค์ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาของอาเซียน เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง

วิสัยทัศน์

+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +

     1. เพื่อจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาของสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

     2. เพื่อให้คณาจารย์นักศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์มีความสามารถในการจัดการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ

     3. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการจัดการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในกลุ่ม

คณาจารย์ นักศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ และผู้ที่สนใจ

     4. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคณาจารย์ นักศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ และผู้ที่สนใจ

     5. เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการจัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนให้แก่นักศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์

ครู และบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ

วัตถุประสงค์

ศูนย์ประยุกต์วิชาการฯ

Please reload

bottom of page